ช่วงเวลาที่สนุกสนาน บ่อยครั้งที่หลายคนก็ไม่อยากให้จบลง โดยเฉพาะถ้าได้หยุดยาวหลายๆ วันเหมือนอย่าง “วันสงกรานต์” ถ้าได้ไปสาดน้ำกันต่อ คงฟินกันสุดๆ

แน่นอนว่าก็มีเทศกาลหนึ่งของไทย ที่เป็นประเพณีจัดขึ้นต่อเนื่องหลังวันสำคัญนั้น ซึ่งเราคุ้นหูกันว่า “วันไหล” ที่สานต่อความรื่นเริงไปได้อีกประมาณหนึ่งสัปดาห์

แต่ในปีนี้จะมีสถานที่ไหนจัดงานบ้าง มาเช็กกันเลย!

จังหวัดชลบุรี

วันที่ 16-17 เมษายน 2566 งานวันไหลบางแสนคำพูดจาก สล็อต888

วันที่ 18 เมษายน 2566 งานวันไหลนาเกลือ ณ ลานโพธิ์นาเกลือ

วันที่ 19 เมษายน 2566 งานวันไหลพัทยา ณ ชายหาดพัทยากลาง

วันที่ 20 เมษายน 2566 งานวันไหลบางเสร่

วันที่ 21-23 เมษายน 2566 งานวันไหลบ้านบึง ณ หน้าที่ว่าการอำเภอบ้านบึงและวัดบึงบวรสถิตย์ (วัดบึงล่าง)

จังหวัดระยอง

วันที่ 16-17 เมษายน 2566 งานวันไหลปลวกแดง ณ ตำบลบ้านปลวกแดง

จังหวัดสมุทรปราการ

วันที่ 21-23 เมษายน 2566 งานสงกรานต์พระประแดง ณ บริเวณตลาดพระประแดง

"สงกรานต์ปากลัด"งานวันไหลยอดนิยมที่หลายคนสนใจ

ประเพณีสงกรานต์พระประแดง เดิมเรียกว่า "สงกรานต์ปากลัด" เป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีศิลปวัฒนธรรมซึ่งสืบทอดกันมา หัวใจของงาน คือ การจัดขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนแห่รถปุปผาชาติ การประกวดนางสงกรานต์และหนุ่มลอยชาย การฟื้นฟูสืบสานการละเล่นพื้นบ้าน สะบ้ามารัญ วัฒนธรรมการแต่งกายและวิถีชีวิตของชาวมอญ (ชาวไทยเชื้อสายรามัญ)

ในปีนี้เป็นอีกปีที่มีกิจกรรมพิเศษเช่นกัน ได้แก่

  • วันที่ 21 เมษายน 2566 เวลา 18.00 น. จะมีการประกวดนางสงกรานต์พระประแดงและหนุ่มลอยชาย ณ เวทีประกวดหน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง
  • วันที่ 21-23 เมษายน 2566 เวลา 20.00 – 24.00 มีจัดการละเล่นสะบ้ารามัญตามหมู่บ้านต่างๆ การแสดงทะแยมอญ การแสดงแสงสี ณ อุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า การแสดงดนตรีไทย จากศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองพระประแดง ชมการกวนกาละแม ของดีเมืองพระประแดง
  • วันที่ 23 เมษายน 2566 เวลา 16.00 น. มีพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ขบวนแห่นางสงกรานต์และขบวนรถบุปผาชาติที่สวยงามตระการตา ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองพระประแดง พิธีปล่อยนก ปล่อยปลา ณ พระอารามหลวงวัดโปรดเกศเชษฐาราม นอกจากนี้ตลอดงานยังชมการละเล่นพื้นเมือง (สะบ้ารามัญ) ได้ที่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า และหมู่บ้านรามัญ รวมถึงดูการแสดงทะแยมอญ การกวนกาละแมของดีเมืองพระประแดงได้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าประเพณีสงกรานต์พระประแดง มีกิจกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้ทุกคนได้ทำมากมาย และยังจัดงานเป็นที่ท้ายๆ เอาใจใครหลายๆ คน ที่ยังไม่อยากให้ความสนุกของเทศกาลสงกรานต์จบลง ได้ไปร่วมสนุกกันจนเกือบถึงสิ้นเดือน หลายคนจึงให้ความสนใจและพิมพ์ค้นหากันมาก จนติดเทรนด์ยอดนิยมบนโซเชียลมีเดียขณะนี้

จากประเพณีขนทรายเข้าวัด สู่ “วันไหล”

“วันไหล” หรือที่เดิมมีชื่อเรียกว่า “ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล” เป็นวันทำบุญขึ้นปีใหม่ที่นิยมปฏิบัติต่อๆ กันมาในภาคตะวันออกและเขตภาคกลางบางจังหวัด ในพื้นที่ติดทะเล โดยจะกำหนดหลังวันสงกรานต์ประมาณ 5-6 วัน ประมาณวันที่ 17-18 เมษายนของทุกปี

มีจุดเริ่มต้นมาจากในสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ประชาชนผู้ศรัทธามักจะนิยมสร้างพระเจดีย์ภายในวัด ไม่ว่าจะวัดใหญ่หรือวัดเล็ก ต้องมีเจดีย์เชิดหน้าชูตากันทุกแห่ง แต่แน่นอนว่าการสร้างเจดีย์ ย่อมต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่สำคัญ ซึ่ง “ทราย” เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่ขาดไม่ได้

ชาวทะเล ได้รับอิทธิพลมาจากธรรมเนียมการขนทรายเข้าวัดเช่นเดียวกัน โดยในช่วงฤดูร้อนใกล้ฤดูฝน ชาวบ้านจะรวมตัวกันขนทรายตามชายหาดใกล้ๆ เข้ามาในวัด เพื่อใช้ในการก่อสร้างเจดีย์ และปรับปรุงซ่อมแซมตัววัดแบบสารพัดประโยชน์ จนเกิดเป็นประเพณีที่เรียกว่า “ก่อพระทรายน้ำไหล” นั่นเอง

นานวันเข้า “วันก่อพระทรายน้ำไหล” เริ่มพัฒนามีลูกเล่นมากขึ้น โดยชาวบ้านจะนำทรายที่ขนเข้ามา ก่อเป็นรูปกรวยเล็กๆ ให้ครบ 84,000 กอง เท่ากับจำนวนของพระธรรมขันธ์ พร้อมทั้งบรรจงนำดอกไม้มาตกแต่งกองทรายเหล่านั้นสวยงาม เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีการละเล่นพื้นเมือง ไปจนถึงงานทอดผ้าป่าทำบุญครั้งใหญ่

แต่ในปัจจุบัน ยานพาหนะเองก็พัฒนาขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด เราจึงใช้รถยนต์ขนทรายเข้าวัดแทน ประกอบกับสภาพบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป หลายวัดไม่จำเป็นจะต้องใช้ทรายขนาดนั้นแล้ว ทำให้ “งานก่อพระทรายน้ำไหล” จางหายไป

สุดท้ายเมื่อไม่ได้มีการก่อพระทราย จึงลดชื่อให้สั้นลงเหลือแค่ “ประเพณีวันไหล” คงความสนุกสนานความรื่นเริงไว้เหมือนเดิม และจัดต่อเนื่องสืบทอดกันมา

กิจกรรม “วันไหล” ในปัจจุบัน

แม้ชื่อเรียกในปัจจุบันจะสั้นลง และรายละเอียดของกิจกรรมอาจเปลี่ยนไปบ้างตามยุคตามสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งเค้าโครงหลัก โดยจะมีการทำกิจกรรมดังนี้

  • การทำบุญใส่บาตร
  • การสรงน้ำพระพุทธรูป
  • การเล่นสาดน้ำสงกรานต์
  • การก่อพระเจดีย์ทราย
  • การแข่งขันกีฬาพื้นเมือง
  • การแข่งขันด้านอาชีพ

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของประเพณีวันไหล ใครที่อยากไปสาดความสนุกกันต่อ ลองไปตามสถานที่ต่างๆ ที่เราแนะนำกันได้ แต่อย่าลืมดูแลสุขภาพของตัวเองด้วย หลังจากวันหยุดยาวจะได้มีความสุขทั้งกายและใจ กลับมาพร้อมสู้งานกันต่อ!

เช็กที่จัดงานทั่วไทย "วันไหล 2566" สงกรานต์พระประแดง-บ้านบึงเล่นตรงไหน

admin